Category Archives: คลังความรู้

โครงการจัดทำภาพอนาคตสินค้าอาหารจากพืช หรือ Plant-Based Food

สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ ร่วมกับ มูลนิธิสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง ดำเนินโครงการจัดทำภาพอนาคตสินค้าอาหารจากพืช หรือ Plant-Based Food เพื่อศึกษาวิเคราะห์ โอกาส แนวโน้มทิศทาง และจัดทำภาพคนาคต หรือ Foresight สินค้าอาหารจากพืช ดาวน์โหลดเอกสารได้ที่ https://drive.google.com/file/d/1VyulPUq0nlTsU3FAltwj3EJclqDO8gZd/view?usp=sharing

สงครามการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกาและจีน: พลวัตรต่อการค้าการลงทุน

สงครามการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกาและจีนเป็นหนึ่งประเด็นภูมิรัฐศาสตร์โลกที่สำคัญที่ส่งผลต่อการค้าการลงทุนโลกและไทย การดำเนินการและการตอบโต้ระหว่างสองประเทศในเป็นไปในลักษณะที่สหรัฐฯ เป็นทีมรุก (Offense) และจีนเป็นทีมรับ (Defense) วรรณสินท์ สัตยานุวัตร์สถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง20 กุมภาพ สงครามการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกาและจีนเป็นหนึ่งประเด็นภูมิรัฐศาสตร์โลกที่สำคัญที่ส่งผลต่อการค้าการลงทุนโลกและไทย การดำเนินการและการตอบโต้ระหว่างสองประเทศในเป็นไปในลักษณะที่สหรัฐฯ เป็นทีมรุก (Offense) และจีนเป็นทีมรับ (Defense) อย่างไรก็ตามเกมการตอบโต้กลับ (Retaliation) ของจีนรุนแรงและส่งผลต่อการส่งออกของสหรัฐฯในระดับที่ไม่น้อยกว่าที่สหรัฐทำไว้กับจีน บทความนี้นำเสนอข้อมูลและประเด็นวิเคราะห์ต่อสงครามการค้าและสงครามเทคโนโลยีระหว่างสหรัฐฯและจีน โดยจำแนกออกเป็น 5 หัวข้อ และหัวข้อที่ 6 นำเสนอบทสรุปการวิเคราะห์ รวมถึงปิดท้ายหัวขัอสุดท้ายแสดงเอกสารอ้างอิง สหรัฐฯแสดงเหตุผลที่ต้องเปิดสงครามการค้ากับจีนโดยหัวใจสำคัญเกิดจากการแทรกแซงการบริหารโดยพรรคคอมมิวนิสต์จีนและประเด็นความมั่นคงผ่านการใช้เทคโนโลยีเคลื่อนที่ยุคที่ 5 (the fifth-generation (5G) mobile technology) โดยเฉพาะผ่านบริษัทของจีนและส่งผลกระทบต่อสหรัฐฯ ได้แก่ การสูญเสียการจ้างงาน และประเด็นความมั่นคงแห่งชาติ และโดยความไม่เป็นธรรมจากการกระทำของรัฐบาลจีน ได้แก่ การอุดหนุนและการใช้รัฐวิสาหกิจดำเนินการต่าง ๆ การบิดเบือนค่าเงิน และประเด็นสิทธิมนุษย์ชน (แสดงตามตารางที่ 1) ตารางที่ 1 ประเด็นข้อกล่าวหาของสหรัฐฯต่อจีนและยุทธการรุกต่อจีน ประเด็นเรื่อง 5G ความระแวงอยู่ที่บริษัท Huawei ซึ่งถูกประเมินว่ามีศักยภาพในการครอบงำเทคโนโลยี 5G ของโลก

ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 และการบริหารจัดการปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) เป็นปัญหาที่ประชาคมโลกรับผลกระทบทางลบร่วมกัน การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้จะนำมาสู่ผลกระทบต่อภาคเกษตรทั้งการเพาะปลูกและปศุสัตว์ของไทยและของโลก รวมถึงการบันทอนคุณภาพการดำรงชีวิตของมนุษย์ที่จะประสบระดับความรุนแรงจะมีมากขึ้นและระดับความถี่จะสูงขึ้น วรรณสินท์ สัตยานุวัตร์สถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) เป็นปัญหาที่ประชาคมโลกรับผลกระทบทางลบร่วมกัน ตั้งแต่ที่ผลทางตรงกับประเทศไทย ได้แก่ปัญหาแล้ง พายุฝน คลื่นความร้อน การเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล และที่ส่งผลทางอ้อมกับไทยอันได้แก่ การละลายของน้ำแข็งในขั้วโลก และน้ำในมหาสมุทรที่อุ่นเพิ่มขึ้น การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้จะนำมาสู่ผลกระทบต่อภาคเกษตรทั้งการเพาะปลูกและปศุสัตว์ของไทยและของโลก รวมถึงการบันทอนคุณภาพการดำรงชีวิตของมนุษย์ที่จะประสบระดับความรุนแรงจะมีมากขึ้นและระดับความถี่จะสูงขึ้น การปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Green House Gas, GHG) เป็นเหตุของปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ความตกลงปารีส (Paris Agreement) แสดงความมุ่งมั่นของประชาคมโลกที่แสดงเป้าหมายในการลดการปล่อย GHG ประเทศพัฒนาแล้วหลายประเทศกำหนดเป้าหมาย Net Zero ในปีค.ศ.2050 ไทยกำหนดเป้าหมาย Carbon Neutral ในปีค.ศ. 2050 และกำหนดเป้าหมาย Net Zero ในปี ค.ศ. 2065 การบริหารราชการแผ่นดินไปสู่เป้าหมายการจัดการต่อ GHG ดังกล่าวดำเนินการได้สี่หมวด ได้แก่ เครื่องมือเชิงนโยบายที่สำคัญของการดำเนินการให้ทั้งสี่หมวดข้างต้นปรากฎผลเชิงประจักษ์จะต้องทำให้กลไกตลาดทำงานจนเกิดการกำหนดราคาคาร์บอนทางตรง (Direct Carbon

กลไกการปรับ (ราคา) คาร์บอนข้ามพรมแดน (The Carbon Border Adjustment Mechanism: CBAM)กลไกการปรับ (ราคา) คาร์บอนข้ามพรมแดน

บทความนี้นำเสนอรายละเอียดของ CBAM ของสหภาพยุโรป (The European Union: EU) ซึ่งเป็นเครื่องมือเพื่อปรับราคาคาร์บอนของสินค้านำเข้าได้แก่ อะลูมิเนียม เหล็กและเหล็กกล้า ปูนซีเมนต์ ไฟฟ้า ปุ๋ย และไฮโดรเจน วรรณสินท์ สัตยานุวัตร์สถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลังนันทรัตน์ ตั้งวิฑูรธรรมมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ บทความนี้นำเสนอรายละเอียดของ CBAM ของสหภาพยุโรป (The European Union: EU) ซึ่งเป็นเครื่องมือเพื่อปรับราคาคาร์บอนของสินค้านำเข้าได้แก่ อะลูมิเนียม เหล็กและเหล็กกล้า ปูนซีเมนต์ ไฟฟ้า ปุ๋ย และไฮโดรเจน วรรณกรรมปริทัศน์ที่ศึกษาการคาดการณ์ผลกระทบพบว่ามีทั้งประเทศที่ความสามารถในการแข่งขันลดลงและประเทศที่มีความสามารถในการแข่งขันเพิ่มขึ้น ภาพรวมของความอยู่ดีกินดีของเศรษฐกิจโลกโดยรวมของประเทศพัฒนาแล้วดีขึ้นและของประเทศกำลังพัฒนาแย่ลง ข้อมูลปี 2019 พบว่าไทยมีเพียงอะลูมิเนียม และเหล็กและเหล็กกล้าที่ส่งออกไปยังตลาด EU ในสัดส่วนร้อยละ 4.4 และ 5.2 ของการส่งออกไปตลาดโลกตามลำดับ การบังคับใช้ CBAM กำหนดช่วงเปลี่ยนผ่านเป็นช่วงแรกระหว่าง 1 ตุลาคม 2023 – 31 ธันวาคม 2025 กำหนดให้ทำรายงานแสดงขนาดการปล่อย GHG

กลไกทางการคลังและการเงินเพื่อขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

บทความสรุปงานวิจัยเรื่อง “การประเมินการเงินเพื่อการพัฒนาประเทศไทย” (เมษายน พ.ศ. 2566) ที่สถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลังให้กับโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (United Nations Development Programme: UNDP) สามารถดูรายงายฉบับเต็มได้ที่ https://www.undp.org/thailand/publications/development-finance-assessment-thailand ดร. จุฑาทอง จารุมิลินท ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลังดร. อนันตโชค โอแสงธรรมนนท์์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลังดร. อรศรัณย์ มนุอมร ที่ปรึกษาสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลังผศ. ดร. ปิยภัสร ธาระวานิช หัวหน้าสาขาการเงิน วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล 1. ความต้องการด้านการเงินเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย ถึงแม้ว่าประเทศไทยจะก้าวหน้าเป็นอย่างมากในแง่การพัฒนา แต่ก็ยังต้องเผชิญความท้าทายด้านการพัฒนาที่สำคัญหลายประการ ประเทศไทยเป็นประเทศรายได้ปานกลางค่อนข้างสูง ตั้งแต่ปี พ.ศ.2554 และมีการพัฒนาอย่างมากทั้งทางเศรษฐกิจและสังคมเป็นเวลาหลายสิบปีติดต่อกัน อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจที่่เติบโตช้าลงในช่วงสิบปีให้หลัง ประกอบกับผลกระทบอย่างรุนแรงของโควิด-19 ที่มีต่อเศรษฐกิจและประชาชน ยิ่งแสดงให้เห็นช่องว่างทางการพัฒนาของประเทศที่มีอยู่เดิมและความเปราะบางต่อวิกฤตใหม่ๆ แม้ว่าในภาพรวมประเทศไทยจะก้าวหน้าไปมากในเรื่องการบรรลุุเป้าหมายการพัฒนาที่่ยั่งยืนแห่งสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals: SDGs) เมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ แต่หากพิจารณาดัชนีการพัฒนามนุษย์โดยปรับค่าความเหลื่อมล้ำและจากแรงกดดันอื่น ๆ ที่ประเทศกำลังเผชิญ ก็จะเห็นถึงความท้าทายสำคัญที่ต้องแก้ไขเพื่อบรรลุุการพัฒนาอย่างยั่งยืน ทั่วถึง (Inclusive)

ภาษีไป (SDGs) ไหน

โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UDNP) ประเทศไทย ได้สนับสนุนให้มีการนำ SDGs ให้เป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์และนโยบายพัฒนาประเทศไทย และพยายามเพิ่มบทบาทของภาคเอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศในการให้การสนับสนุนทางเงินเพื่อการบรรลุ SDGs ภายใต้กรอบการเงินเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนหรือ Integrated National Financing Framework (INFF) ดร. อนันตโชค โอแสงธรรมนนท์ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สวค.ผู้อำนวยการศูนย์นโยบายการเงินและการพัฒนาเศรษฐกิจยั่งยืน การพัฒนาที่ยั่งยืนและแหล่งเงินทุนที่สำคัญวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030 หรือ The 2030 Agenda for Sustainable Development เป็นวาระที่รัฐสมาชิกในองค์การสหประชาชาติ (United Nation: UN) เห็นชอบร่วมกันตั้งแต่ปี ค.ศ. 2015 และตั้งเป้าจะบรรลุผลเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ในปี ค.ศ. 2030 ซึ่งให้ความสำคัญกับการพัฒนามุ่งเน้นให้ประชาชนทุกกลุ่มในสังคมได้รับประโยชน์และสิ่งแวดล้อมยังอยู่ในสภาพดีสำหรับคนรุ่นหลัง สถานการณ์โควิด-19 ส่งผลให้ฐานะการคลังของไทยที่พิจารณาจากสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อขนาดเศรษฐกิจของประเทศหรือ GDP ยังคงอยู่ในระดับเกือบสูงสุดในรอบ 8 ปีที่ระดับร้อยละ 61.69 ในเดือนสิงหาคม 2566 ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องแม้ว่าสถานการณ์โควิด-19 ได้กลับสู่สภาวะปกติแล้ว

ทำไม ยุคนี้ต้อง “สีเขียว”

ปัญหาที่ทุกประเทศทั่วโลกต้องเผชิญเหมือนกันในปัจจุบันคงหนีไม่พ้นปัญหาที่อุณภูมิโลกเพิ่มสูงขึ้น โดยในช่วงปลายเดือนกรกฎาคม 2566 คุณ António Guterres เลขาธิการสหประชาขาติ ได้กล่าวเตือนว่า ยุคของ Global Warming ได้สิ้นสุดลงแล้ว และเรากำลังจะเข้าสู่ยุคของ Global Boiling… นางสาวสมฤทัย แสงทองนักวิจัยสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง ปัญหาที่ทุกประเทศทั่วโลกต้องเผชิญเหมือนกันในปัจจุบันคงหนีไม่พ้นปัญหาที่อุณภูมิโลกเพิ่มสูงขึ้นในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2566 ที่ผ่านมา องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก หรือ World Meteorological Organization (WMO) ได้มีการคาดการณ์ว่าระหว่างปี พ.ศ. 2566 – 2570 อุณหภูมิใกล้ผิวโลกเฉลี่ยต่อปีจะสูงกว่ายุคก่อนอุตสาหกรรมประมาณ 1.1 – 1.8 องศาเซลเซียส และมีโอกาสสูงถึงร้อยละ 66 ที่อุณหภูมิของโลกจะเพิ่มสูงเกิน 1.5 องศาเซลเซียส ภายในปี พ.ศ. 2570 ในช่วงปลายเดือนกรกฎาคม 2566 คุณ António Guterres เลขาธิการสหประชาขาติ ได้กล่าวเตือนว่า ยุคของ Global Warming

ภาษีศุลกากรสำหรับไฟล์ดิจิทัล : 20 ปีของการหารือและทางเลือกของประเทศไทย

ภาษีศุลกากรเป็นเครื่องมือการหารายได้ของรัฐบาลที่ใช้งานกันอย่างยาวนานนับตั้งแต่โลกมีการค้าระหว่างประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทั้งการหารายได้และการควบคุมการค้าผ่านพรมแดนให้เป็นไปตามนโยบายทางสังคมและเศรษฐกิจของประเทศ นายสรัล สุขเจริญยิ่งยงนักวิจัยสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง ภาษีศุลกากรเป็นเครื่องมือการหารายได้ของรัฐบาลที่ใช้งานกันอย่างยาวนานนับตั้งแต่โลกมีการค้าระหว่างประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทั้งการหารายได้และการควบคุมการค้าผ่านพรมแดนให้เป็นไปตามนโยบายทางสังคมและเศรษฐกิจของประเทศ อย่างไรก็ตาม เมื่อโลกพัฒนามาจนถึงจุดที่เทคโนโลยีดิจิทัลเปลี่ยนแปลงรูปแบบของสินค้าบางกลุ่มจากที่เป็นสินค้ากายภาพที่จับต้องได้เป็นสินค้าดิจิทัลที่จับต้องไม่ได้ เช่น หนังสือ ภาพยนตร์ เพลง กอปรกับการพัฒนาของเทคโนโลยีการสื่อสารข้ามพรมแดนที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพสูงขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้สามารถส่งข้อมูลภาพ เสียง วิดีทัศน์ และอื่น ๆ ไปยังที่ต่าง ๆ เพื่อนำไปใช้งานทั้งในประเทศ และระหว่างประเทศโดยไม่ได้อยู่ในรูปแบบของสินค้ากายภาพอีกต่อไป ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงข้างต้น ทำให้ต้องเปลี่ยนแนวคิดในการกำหนดนโยบายการค้าระหว่างประเทศใหม่เพื่อจัดการกับการค้าข้ามแดนของสิ่งที่จับต้องไม่ได้ ในปัจจุบัน ประเทศต่าง ๆยังไม่สามารถหาข้อสรุปเกี่ยวกับแนวนโยบายใหม่ โดยอย่างยิ่งประเด็นภาษีศุลกากรสำหรับการส่งผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ (เช่น ทางอินเตอร์เน็ต) ยังคงเป็นประเด็นที่ถกเถียงของภาคนโยบายการค้าทั้งในระดับประเทศ ไปจนถึงเวทีประชุมการค้าโลกมายาวนานกว่า 20 ปี แนวคิดการปฏิบัติด้านภาษีศุลกากรสำหรับการส่งผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นแนวคิดที่ถูกนำเสนอบนเวทีที่ประชุมการค้าระหว่างประเทศครั้งแรกในปี ค.ศ. 1998 ในที่ประชุมวาระการค้าอิเล็กทรอนิกส์ โดยมาจากความกังวลเรื่องการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่ทำให้สินค้าบางกลุ่มเปลี่ยนรูปแบบการจัดเก็บจากทางกายภาพมาส่งผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์เต็มรูปแบบ เนื่องจากที่ประชุมยังไม่สามารถหาข้อสรุปเกี่ยวกับขอบเขตของสิ่งส่งผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงวิธีการจัดการกับสิ่งส่งผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ได้อย่างเหมาะสม เช่น แนวทางการเก็บภาษีศุลกากรของสิ่งที่ส่งผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ จึงมีมติให้ประเทศสมาชิกยกเว้นการเก็บภาษีศุลกากรเป็นการชั่วคราว อย่างไรก็ตาม ประเทศสมาชิกองค์การการค้าโลกกก็ยังไม่มีข้อสรุปเกี่ยวกับเรื่องนี้และยังคงมติให้มีการยกเว้นการเก็บภาษีศุลกากรชั่วคราวในการประชุมครั้งล่าสุด เมื่อปี พ.ศ. 2564 ในปัจจุบัน สิ่งส่งผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์เองก็ได้รับการจำกัดกรอบให้ชัดเจนขึ้นทั้งบนเวทีการค้าโลก และในความตกลงทางการค้าระหว่างประเทศ โดยจุดร่วมของนิยามต่าง ๆ

หลากหลายมิติของการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ

การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ คือธุรกรรมการลงทุนที่ผู้ลงทุนมีถิ่นฐานจากต่างประเทศ โดยจะครอบคลุมถึงเงินลงทุนในหุ้นที่มีสิทธิ์ร่วมในการบริหารกิจการ ตั้งแต่ร้อยละ 10 ขึ้นไป, การกู้ยืมระหว่างบริษัทในเครือ, กำไรที่นำกลับมาลงทุน, และตราสารหนี้และสินเชื่อการค้าที่เป็นธุรกรรมระหว่างบริษัทในเครือเดียวกัน นายธนาพัชร อัครพัฒนเมธนักวิจัยโครงการสวค. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือ บีโอไอ ได้รายงานว่า มูลค่าของการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ(Foreign Direct Investment: FDI) ในช่วงครึ่งปีแรกของปี พ.ศ. 2566 สูงถึง 304,041 ล้านบาทเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี พ.ศ. 2565 ที่มูลค่าการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศเพียง 126,187 ล้านบาท ถ้าหากพวกเราได้มีการติดตามข่าวสารทางเศรษฐกิจเป็นประจำ ก็จะต้องได้ยินเกี่ยวกับตัวเลขทางเศรษฐกิจตัวนี้ รัฐบาลไทยมีการดำเนินนโยบายเพื่อส่งเสริมให้นักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง โดยมีมาตรการอำนวยความสะดวกในการลงทุนและสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ เช่น การยกเว้นการเก็บภาษีเงินได้ การให้สิทธิในการถือครองที่ดินระยะยาวเพื่อการลงทุน โดยรัฐบาลมีเป้าหมายให้ไทยเป็นศูนย์กลางการลงทุนของภูมิภาคโดยเน้นส่งเสริมการลงทุนในธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับอุตสาหกรรมใหม่ (New S-Curve) ที่จะเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจในอนาคต เช่น พลังงานสะอาด ยานยนต์ไฟฟ้า การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ คือธุรกรรมการลงทุนที่ผู้ลงทุนมีถิ่นฐานจากต่างประเทศ โดยจะครอบคลุม (1) เงินลงทุนในหุ้นที่มีสิทธิ์ร่วมในการบริหารกิจการ ตั้งแต่ร้อยละ 10 ขึ้นไป (2) การกู้ยืมระหว่างบริษัทในเครือ