Author Archives: fpridev

พิธีเปิดหลักสูตรนักการคลังมืออาชีพ (นคอ.) รุ่นที่ 14

บรรยากาศพิธีเปิดหลักสูตรนักการคลังมืออาชีพ (นคอ.) รุ่นที่ 14 จัดโดยสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง หลักสูตรฯนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้บริหารที่เข้าร่วมหลักสูตรฯ ได้พัฒนาทักษะและเพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภาพรวมของเศรษฐกิจและนโยบายการคลังของประเทศ รวมถึงการดำเนินนโยบายการคลังที่เหมาะสมในแต่ละช่วงเวลาเพื่อให้สอดรับกับพลวัตของเศรษฐกิจ และเพิ่มเติมความรู้ที่ทันสมัยเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะในการบริหารจัดการงานขององค์กรได้อย่างมืออาชีพ อีกทั้งยังเป็นการเสริมสร้างเครือข่ายความสัมพันธ์ระหว่างข้าราชการและผู้บริหารจากหน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานเอกชนอื่น ๆ ที่เข้าร่วมอบรมในหลักสูตรฯ โดยได้รับเกียรติจาก ดร. จุฑาทอง จารุมิลินท ผู้อำนวยการสถาบันนโยบายเศรษฐกิจการคลัง กล่าวต้อนรับ

เชิญผู้สนใจเข้าร่วมการประชุมระดมความคิดเห็นต่อการจัดทำภาพอนาคตสินค้าเกษตรสำคัญของประเทศไทย กรณีศึกษา สินค้าอาหารจากพืช (Plant-Based Food)

สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า ร่วมกับ สถาบันวิจัยนโยบายเศรฐกิจการคลัง เชิญผู้สนใจเข้าร่วมงาน การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อระดมความคิดเห็นต่อการจัดทำภาพอนาคตสินค้าเกษตรสำคัญของประเทศไทย กรณีศึกษา สินค้าอาหารจากพืช (Plant-Based Food) นำเสนอร่างภาพอนาคตสินค้าเกษตรสำคัญของประเทศไทย กรณีศึกษา สินค้าอาหารจากพืช(Plant-Based Food) สัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อระดมความคิดเห็น Online ผ่านโปรแกรม Zoom วันพฤหัสบดีที่ 25 เมษายน 2567 9.00 -16.00 น. หรือโทร 02-587-9788 ต่อ 301-314

ผู้อำนวยการ สวค. ร่วมวันสถาปนา กระทรวงการคลัง

ดร. จุฑาทอง จารุมิลินท ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง และผู้บริหาร สวค. ร่วมพิธีแสดงความยินดีเนื่องในวันคล้ายวันสถาปนา กระทรวงการคลัง ครบรอบ ๑๔๙ ปี และ พิธีเปิด “อาคาร ๑๕๐ กระทรวงการคลัง”

สงครามการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกาและจีน: พลวัตรต่อการค้าการลงทุน

สงครามการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกาและจีนเป็นหนึ่งประเด็นภูมิรัฐศาสตร์โลกที่สำคัญที่ส่งผลต่อการค้าการลงทุนโลกและไทย การดำเนินการและการตอบโต้ระหว่างสองประเทศในเป็นไปในลักษณะที่สหรัฐฯ เป็นทีมรุก (Offense) และจีนเป็นทีมรับ (Defense) วรรณสินท์ สัตยานุวัตร์สถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง20 กุมภาพ สงครามการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกาและจีนเป็นหนึ่งประเด็นภูมิรัฐศาสตร์โลกที่สำคัญที่ส่งผลต่อการค้าการลงทุนโลกและไทย การดำเนินการและการตอบโต้ระหว่างสองประเทศในเป็นไปในลักษณะที่สหรัฐฯ เป็นทีมรุก (Offense) และจีนเป็นทีมรับ (Defense) อย่างไรก็ตามเกมการตอบโต้กลับ (Retaliation) ของจีนรุนแรงและส่งผลต่อการส่งออกของสหรัฐฯในระดับที่ไม่น้อยกว่าที่สหรัฐทำไว้กับจีน บทความนี้นำเสนอข้อมูลและประเด็นวิเคราะห์ต่อสงครามการค้าและสงครามเทคโนโลยีระหว่างสหรัฐฯและจีน โดยจำแนกออกเป็น 5 หัวข้อ และหัวข้อที่ 6 นำเสนอบทสรุปการวิเคราะห์ รวมถึงปิดท้ายหัวขัอสุดท้ายแสดงเอกสารอ้างอิง สหรัฐฯแสดงเหตุผลที่ต้องเปิดสงครามการค้ากับจีนโดยหัวใจสำคัญเกิดจากการแทรกแซงการบริหารโดยพรรคคอมมิวนิสต์จีนและประเด็นความมั่นคงผ่านการใช้เทคโนโลยีเคลื่อนที่ยุคที่ 5 (the fifth-generation (5G) mobile technology) โดยเฉพาะผ่านบริษัทของจีนและส่งผลกระทบต่อสหรัฐฯ ได้แก่ การสูญเสียการจ้างงาน และประเด็นความมั่นคงแห่งชาติ และโดยความไม่เป็นธรรมจากการกระทำของรัฐบาลจีน ได้แก่ การอุดหนุนและการใช้รัฐวิสาหกิจดำเนินการต่าง ๆ การบิดเบือนค่าเงิน และประเด็นสิทธิมนุษย์ชน (แสดงตามตารางที่ 1) ตารางที่ 1 ประเด็นข้อกล่าวหาของสหรัฐฯต่อจีนและยุทธการรุกต่อจีน ประเด็นเรื่อง 5G ความระแวงอยู่ที่บริษัท Huawei ซึ่งถูกประเมินว่ามีศักยภาพในการครอบงำเทคโนโลยี 5G ของโลก

ผู้อำนวยการ สวค. ร่วมวันสถาปนากรมสรรพสามิต

ดร. จุฑาทอง จารุมิลินท ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง และผู้บริหาร สวค. ร่วมแสดงความยินดีเนื่องในโอกาสวันสถาปนากรมสรรพสามิต ครบรอบ 92 ปี ณ อาคารเอนกประสงค์ กรมสรรพสามิต เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2567

พิธีเปิดการอบรมหลักสูตร EYP7

พิธีเปิดหลักสูตรพัฒนาทักษะการบริหารสำหรับผู้นำรุ่นใหม่:EYP รุ่นที่ 7 โดย FisPRI Training สถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง โดยได้รับเกียรติจาก ดร.จุฑาทอง จารุมิลินท ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมอบรม ซึ่งช่วงเช้าการอบรมในวันแรกนี้ ได้รับเกียรติจาก รศ. ดร.ชัยยุทธ ถาวรานุรักษ์ รองคณบดีฝ่ายบริการวิชาการและสื่อสารองค์กร วิทยาลัยสหวิทยาการ มาช่วยดำเนินกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ เพื่อเสริมสร้างเครือข่ายความสัมพันธ์ สร้างความสนิทสนมแก่ผู้เข้าร่วมอบรม โดยหลักสูตร EYP มุ่งเน้นการพัฒนาผู้นำรุ่นใหม่ทั้งแนวคิด และการบริหารจัดการเพื่อให้สามารถรองรับผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม วิทยาการ การสื่อสารและเทคโนโลยี และการเมือง รวมทั้งความเสี่ยงต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น นอกจากการพัฒนาทักษะทางการบริหารธุรกิจในเชิงทฤษฎีแล้ว หลักสูตรนี้ยังเสริมสร้างความเข้าใจของผู้เข้าอบรมผ่านการนำกรณีศึกษามาสู่การสรุป และต่อยอดทางความคิด รวมถึงมุ่งเน้นความรู้เกี่ยวกับ Mega Trends หรือกระแสความนิยมใหม่ที่ผู้บริหารรุ่นใหม่ควรตระหนัก เพื่อนำไปสร้างประโยชน์ เช่น กำหนดทิศทางการดำเนินชีวิต กำหนดแผนกลยุทธ์ทางธุรกิจ การมองหาโอกาสใหม่ ๆ ในการลงทุน หรือการสร้างธุรกิจของตนเอง หรือคาดการณ์ความมั่นคงของบริษัทหรือองค์กรที่ตนกำลังบริหารงานอยู่

เชิญผู้สนใจเข้าร่วม Focus Group “ศักยภาพของน่าน MSME … ความหวัง และการเติบโต”

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ร่วมกับ สถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง 📣เรียนเชิญผู้สนใจเข้าร่วมประชุมระดมความคิดเห็น (Focus Group) 🎯”ศักยภาพของน่าน MSME … ความหวัง และการเติบโต” Topics:🔹ศักยภาพ จุดเด่น และจุดด้อยของจังหวัด🔹สถานการณ์ของผู้ประกอบการ MSME ในพื้นที่และบทบาทความช่วยเหลือ ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง🔹Soft Power และภาพอนาคตของพื้นที่🔹ข้อเสนอแนะต่อการส่งเสริมผู้ประกอบการ MSME ในพื้นที่ 🗓 25 มกราคม 2567⏰08:30 น. – 12:30 น. 🏢 ณ ห้องจัสมิน ชั้น 2 โรงแรมดิอิมเพรส น่าน ลงทะเบียนร่วมงานได้ที่https://forms.office.com/r/rMyUwGZT4M หรือติดต่อ02-587-9788 ต่อ 301-314

ผู้อำนวยการ สวค. ร่วมตักบาตรปีใหม่ 2567 กระทรวงการคลัง

ดร.จุฑาทอง จารุมิลินท ผู้อำนวยการ สวค. ร่วมพิธีทำบุญตักบาตรเนื่องในวันขึ้นปีใหม่ 2567 ร่วมกับผู้บริหารกระทรวงการคลัง ณ ห้องโถงวายุภักษ์ ชั้น 1 กระทรวงการคลัง วันพุธที่ 3 มกราคม 2567

ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 และการบริหารจัดการปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) เป็นปัญหาที่ประชาคมโลกรับผลกระทบทางลบร่วมกัน การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้จะนำมาสู่ผลกระทบต่อภาคเกษตรทั้งการเพาะปลูกและปศุสัตว์ของไทยและของโลก รวมถึงการบันทอนคุณภาพการดำรงชีวิตของมนุษย์ที่จะประสบระดับความรุนแรงจะมีมากขึ้นและระดับความถี่จะสูงขึ้น วรรณสินท์ สัตยานุวัตร์สถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) เป็นปัญหาที่ประชาคมโลกรับผลกระทบทางลบร่วมกัน ตั้งแต่ที่ผลทางตรงกับประเทศไทย ได้แก่ปัญหาแล้ง พายุฝน คลื่นความร้อน การเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล และที่ส่งผลทางอ้อมกับไทยอันได้แก่ การละลายของน้ำแข็งในขั้วโลก และน้ำในมหาสมุทรที่อุ่นเพิ่มขึ้น การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้จะนำมาสู่ผลกระทบต่อภาคเกษตรทั้งการเพาะปลูกและปศุสัตว์ของไทยและของโลก รวมถึงการบันทอนคุณภาพการดำรงชีวิตของมนุษย์ที่จะประสบระดับความรุนแรงจะมีมากขึ้นและระดับความถี่จะสูงขึ้น การปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Green House Gas, GHG) เป็นเหตุของปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ความตกลงปารีส (Paris Agreement) แสดงความมุ่งมั่นของประชาคมโลกที่แสดงเป้าหมายในการลดการปล่อย GHG ประเทศพัฒนาแล้วหลายประเทศกำหนดเป้าหมาย Net Zero ในปีค.ศ.2050 ไทยกำหนดเป้าหมาย Carbon Neutral ในปีค.ศ. 2050 และกำหนดเป้าหมาย Net Zero ในปี ค.ศ. 2065 การบริหารราชการแผ่นดินไปสู่เป้าหมายการจัดการต่อ GHG ดังกล่าวดำเนินการได้สี่หมวด ได้แก่ เครื่องมือเชิงนโยบายที่สำคัญของการดำเนินการให้ทั้งสี่หมวดข้างต้นปรากฎผลเชิงประจักษ์จะต้องทำให้กลไกตลาดทำงานจนเกิดการกำหนดราคาคาร์บอนทางตรง (Direct Carbon