Author Archives: admin

หลักสูตรนักบริหารยุทธศาสตร์

การขับเคลื่อนประเทศและองค์กรตามนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจของรัฐบาลเพื่อให้ประเทศไทยเดินไปข้างหน้าอย่าง “มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน” นั้น มีหลายสิ่งที่ควรคำนึงถึง

ภาษีศุลกากรสำหรับไฟล์ดิจิทัล : 20 ปีของการหารือและทางเลือกของประเทศไทย

ภาษีศุลกากรเป็นเครื่องมือการหารายได้ของรัฐบาลที่ใช้งานกันอย่างยาวนานนับตั้งแต่โลกมีการค้าระหว่างประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทั้งการหารายได้และการควบคุมการค้าผ่านพรมแดนให้เป็นไปตามนโยบายทางสังคมและเศรษฐกิจของประเทศ นายสรัล สุขเจริญยิ่งยงนักวิจัยสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง ภาษีศุลกากรเป็นเครื่องมือการหารายได้ของรัฐบาลที่ใช้งานกันอย่างยาวนานนับตั้งแต่โลกมีการค้าระหว่างประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทั้งการหารายได้และการควบคุมการค้าผ่านพรมแดนให้เป็นไปตามนโยบายทางสังคมและเศรษฐกิจของประเทศ อย่างไรก็ตาม เมื่อโลกพัฒนามาจนถึงจุดที่เทคโนโลยีดิจิทัลเปลี่ยนแปลงรูปแบบของสินค้าบางกลุ่มจากที่เป็นสินค้ากายภาพที่จับต้องได้เป็นสินค้าดิจิทัลที่จับต้องไม่ได้ เช่น หนังสือ ภาพยนตร์ เพลง กอปรกับการพัฒนาของเทคโนโลยีการสื่อสารข้ามพรมแดนที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพสูงขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้สามารถส่งข้อมูลภาพ เสียง วิดีทัศน์ และอื่น ๆ ไปยังที่ต่าง ๆ เพื่อนำไปใช้งานทั้งในประเทศ และระหว่างประเทศโดยไม่ได้อยู่ในรูปแบบของสินค้ากายภาพอีกต่อไป ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงข้างต้น ทำให้ต้องเปลี่ยนแนวคิดในการกำหนดนโยบายการค้าระหว่างประเทศใหม่เพื่อจัดการกับการค้าข้ามแดนของสิ่งที่จับต้องไม่ได้ ในปัจจุบัน ประเทศต่าง ๆยังไม่สามารถหาข้อสรุปเกี่ยวกับแนวนโยบายใหม่ โดยอย่างยิ่งประเด็นภาษีศุลกากรสำหรับการส่งผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ (เช่น ทางอินเตอร์เน็ต) ยังคงเป็นประเด็นที่ถกเถียงของภาคนโยบายการค้าทั้งในระดับประเทศ ไปจนถึงเวทีประชุมการค้าโลกมายาวนานกว่า 20 ปี แนวคิดการปฏิบัติด้านภาษีศุลกากรสำหรับการส่งผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นแนวคิดที่ถูกนำเสนอบนเวทีที่ประชุมการค้าระหว่างประเทศครั้งแรกในปี ค.ศ. 1998 ในที่ประชุมวาระการค้าอิเล็กทรอนิกส์ โดยมาจากความกังวลเรื่องการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่ทำให้สินค้าบางกลุ่มเปลี่ยนรูปแบบการจัดเก็บจากทางกายภาพมาส่งผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์เต็มรูปแบบ เนื่องจากที่ประชุมยังไม่สามารถหาข้อสรุปเกี่ยวกับขอบเขตของสิ่งส่งผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงวิธีการจัดการกับสิ่งส่งผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ได้อย่างเหมาะสม เช่น แนวทางการเก็บภาษีศุลกากรของสิ่งที่ส่งผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ จึงมีมติให้ประเทศสมาชิกยกเว้นการเก็บภาษีศุลกากรเป็นการชั่วคราว อย่างไรก็ตาม ประเทศสมาชิกองค์การการค้าโลกกก็ยังไม่มีข้อสรุปเกี่ยวกับเรื่องนี้และยังคงมติให้มีการยกเว้นการเก็บภาษีศุลกากรชั่วคราวในการประชุมครั้งล่าสุด เมื่อปี พ.ศ. 2564 ในปัจจุบัน สิ่งส่งผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์เองก็ได้รับการจำกัดกรอบให้ชัดเจนขึ้นทั้งบนเวทีการค้าโลก และในความตกลงทางการค้าระหว่างประเทศ โดยจุดร่วมของนิยามต่าง ๆ

หลากหลายมิติของการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ

การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ คือธุรกรรมการลงทุนที่ผู้ลงทุนมีถิ่นฐานจากต่างประเทศ โดยจะครอบคลุมถึงเงินลงทุนในหุ้นที่มีสิทธิ์ร่วมในการบริหารกิจการ ตั้งแต่ร้อยละ 10 ขึ้นไป, การกู้ยืมระหว่างบริษัทในเครือ, กำไรที่นำกลับมาลงทุน, และตราสารหนี้และสินเชื่อการค้าที่เป็นธุรกรรมระหว่างบริษัทในเครือเดียวกัน นายธนาพัชร อัครพัฒนเมธนักวิจัยโครงการสวค. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือ บีโอไอ ได้รายงานว่า มูลค่าของการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ(Foreign Direct Investment: FDI) ในช่วงครึ่งปีแรกของปี พ.ศ. 2566 สูงถึง 304,041 ล้านบาทเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี พ.ศ. 2565 ที่มูลค่าการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศเพียง 126,187 ล้านบาท ถ้าหากพวกเราได้มีการติดตามข่าวสารทางเศรษฐกิจเป็นประจำ ก็จะต้องได้ยินเกี่ยวกับตัวเลขทางเศรษฐกิจตัวนี้ รัฐบาลไทยมีการดำเนินนโยบายเพื่อส่งเสริมให้นักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง โดยมีมาตรการอำนวยความสะดวกในการลงทุนและสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ เช่น การยกเว้นการเก็บภาษีเงินได้ การให้สิทธิในการถือครองที่ดินระยะยาวเพื่อการลงทุน โดยรัฐบาลมีเป้าหมายให้ไทยเป็นศูนย์กลางการลงทุนของภูมิภาคโดยเน้นส่งเสริมการลงทุนในธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับอุตสาหกรรมใหม่ (New S-Curve) ที่จะเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจในอนาคต เช่น พลังงานสะอาด ยานยนต์ไฟฟ้า การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ คือธุรกรรมการลงทุนที่ผู้ลงทุนมีถิ่นฐานจากต่างประเทศ โดยจะครอบคลุม (1) เงินลงทุนในหุ้นที่มีสิทธิ์ร่วมในการบริหารกิจการ ตั้งแต่ร้อยละ 10 ขึ้นไป (2) การกู้ยืมระหว่างบริษัทในเครือ

ผู้อำนวยการ สวค. ร่วมพิธีวางพวงมาลาถวายสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประจำปี พ.ศ. 2566

ดร. จุฑาทอง จารุมิลินท ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง ร่วมพิธีวางพวงมาลาถวายสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ประจำปี พ.ศ. 2566 ณ ลานพระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ 5 กระทรวงการคลัง ในวันจันทร์ ที่ 23 ตุลาคม 2566

นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล มูลนิธิสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง  ปรับปรุงล่าสุด : 31 พฤษภาคม 2565 ฉบับย่อ ด้วยความเคารพต่อสิทธิความเป็นส่วนตัวของพนักงาน คู่สัญญา และบุคคลที่เกี่ยวข้องกับมูลนิธิสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง (“มูลนิธิ สวค.”) โดยคณะผู้บริหารมูลนิธิ สวค. ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการคุ้มครองสิทธิความเป็นส่วนตัวของบุคคลดังกล่าว จึงได้อนุมัติให้ใช้นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของมูลนิธิ สวค. ซึ่งกำหนดหลักเกณฑ์ กลไก และมาตรการบริหารจัดการของมูลนิธิ สวค. ให้ครอบคลุม ชัดเจน และสอดคล้องตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ทั้งนี้ เพื่อสร้างความมั่นใจแก่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลนี้ ใช้บังคับกับมูลนิธิ สวค. พนักงานภายในองค์กร และบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลตามคําสั่งหรือในนามของมูลนิธิ สวค.

นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับผู้ทำแบบสอบถาม

นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สำหรับผู้ทำแบบสอบถามของมูลนิธิสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง ปรับปรุงล่าสุด : 31 พฤษภาคม 2565 ฉบับย่อ มูลนิธิสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง (ต่อไปนี้จะเรียกว่า “มูลนิธิ สวค.”) ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ทำแบบสอบถาม (ต่อไปนี้จะเรียกรวมว่า “ผู้ทำแบบสอบถาม”) ซึ่งจะได้รับการดูแลตามมาตรฐานสูงสุดสอดคล้องกับพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (“กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฯ”) โดยท่านสามารถดูรายละเอียดของนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับผู้ทำแบบสอบถาม (“นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฯ”) ฉบับเต็มได้ ผ่านทาง QR Code ด้านล่างนี้ อย่างไรก็ตาม ท่านสามารถอ่านสรุปเบื้องต้น ของนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฯ ด้านล่างเพื่อความสะดวก 

นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับผู้ร่วมงานอบรม/สัมมนา

นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สำหรับผู้ร่วมงานอบรม/สัมมนาของมูลนิธิสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง ปรับปรุงล่าสุด : 31 พฤษภาคม 2565 ฉบับย่อ มูลนิธิสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง (ต่อไปนี้จะเรียกว่า “มูลนิธิ สวค.”) ประมวลผลข้อมูล ผู้ร่วมงานอบรม/สัมมนา (ต่อไปนี้จะเรียกรวมว่า “ผู้สมัคร”) ซึ่งจะได้รับการดูแลตามมาตรฐานสูงสุดสอดคล้องกับพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (“กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฯ”) โดยท่านสามารถดูรายละเอียดของนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับผู้สมัคร (“นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฯ”) ฉบับเต็มได้ ผ่านทาง QR Code ด้านล่างนี้ อย่างไรก็ตาม ท่านสามารถอ่านสรุปเบื้องต้นของนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฯ ด้านล่างเพื่อความสะดวก

นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับบุคคลภายนอก

นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สำหรับบุคคลภายนอกของมูลนิธิสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง ปรับปรุงล่าสุด : 31 พฤษภาคม 2565 ฉบับย่อ มูลนิธิสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง (ต่อไปนี้จะเรียกว่า “มูลนิธิ สวค.” หรือ “เรา”) ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของบุคคลภายนอก ซึ่งรวมถึงผู้ติดต่อและผู้ประสานงานจากภายนอก (ต่อไปนี้จะเรียกรวมว่า “บุคคลภายนอก” หรือ “ท่าน”) ซึ่งจะได้รับการดูแลตามมาตรฐานสูงสุดสอดคล้องกับพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (“กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฯ”) โดยท่านสามารถดูรายละเอียดของนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับบุคคลภายนอก (“นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฯ”) ฉบับเต็มได้ ผ่านทาง QR Code ด้านล่างนี้ อย่างไรก็ตาม ท่านสามารถอ่านสรุปเบื้องต้นของนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฯ ด้านล่างเพื่อความสะดวก

นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับผู้สมัครงาน

นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สำหรับผู้สมัครงานของมูลนิธิสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง ปรับปรุงล่าสุด : 31 พฤษภาคม 2565 ฉบับย่อ มูลนิธิสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง (ต่อไปนี้จะเรียกว่า “มูลนิธิ สวค.”) ประมวลผลข้อมูล ส่วนบุคคลของ ผู้สมัคร (ต่อไปนี้จะเรียกรวมว่า “ผู้สมัคร”) ซึ่งจะได้รับการดูแลตามมาตรฐานสูงสุดสอดคล้องกับพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (“กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฯ”) โดยท่านสามารถ ดูรายละเอียดของนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับผู้สมัคร (“นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฯ”) ฉบับเต็มได้ ผ่านทาง QR Code ด้านล่างนี้ อย่างไรก็ตาม ท่านสามารถอ่านสรุปเบื้องต้นของนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฯ ด้านล่างเพื่อความสะดวก