บทความสรุปงานวิจัยเรื่อง “การประเมินการเงินเพื่อการพัฒนาประเทศไทย” (เมษายน พ.ศ. 2566) ที่สถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลังให้กับโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (United Nations Development Programme: UNDP) สามารถดูรายงายฉบับเต็มได้ที่ https://www.undp.org/thailand/publications/development-finance-assessment-thailand ดร. จุฑาทอง จารุมิลินท ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลังดร. อนันตโชค โอแสงธรรมนนท์์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลังดร. อรศรัณย์ มนุอมร ที่ปรึกษาสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลังผศ. ดร. ปิยภัสร ธาระวานิช หัวหน้าสาขาการเงิน วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล 1. ความต้องการด้านการเงินเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย ถึงแม้ว่าประเทศไทยจะก้าวหน้าเป็นอย่างมากในแง่การพัฒนา แต่ก็ยังต้องเผชิญความท้าทายด้านการพัฒนาที่สำคัญหลายประการ ประเทศไทยเป็นประเทศรายได้ปานกลางค่อนข้างสูง ตั้งแต่ปี พ.ศ.2554 และมีการพัฒนาอย่างมากทั้งทางเศรษฐกิจและสังคมเป็นเวลาหลายสิบปีติดต่อกัน อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจที่่เติบโตช้าลงในช่วงสิบปีให้หลัง ประกอบกับผลกระทบอย่างรุนแรงของโควิด-19 ที่มีต่อเศรษฐกิจและประชาชน ยิ่งแสดงให้เห็นช่องว่างทางการพัฒนาของประเทศที่มีอยู่เดิมและความเปราะบางต่อวิกฤตใหม่ๆ แม้ว่าในภาพรวมประเทศไทยจะก้าวหน้าไปมากในเรื่องการบรรลุุเป้าหมายการพัฒนาที่่ยั่งยืนแห่งสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals: SDGs) เมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ แต่หากพิจารณาดัชนีการพัฒนามนุษย์โดยปรับค่าความเหลื่อมล้ำและจากแรงกดดันอื่น ๆ ที่ประเทศกำลังเผชิญ ก็จะเห็นถึงความท้าทายสำคัญที่ต้องแก้ไขเพื่อบรรลุุการพัฒนาอย่างยั่งยืน ทั่วถึง (Inclusive)
ศูนย์เศรษฐกิจการคลังและสังคม
ให้บริการวิชาการด้านการวิจัยทางเศรษฐกิจ การคลัง และนโยบายด้านสังคม รวมถึงการพัฒนาข้อเสนอชุดมาตรการ และการออกแบบระบบ/กลไกการบริหารและการปฏิบัติงานให้กับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน อาทิ เป็นที่ปรึกษาในการพัฒนายุทธศาสตร์และแผนกลยุทธ์ขององค์กร การศึกษาด้านการเงินและความเป็นไปได้ทางธุรกิจ การศึกษาด้านพฤติกรรมของกลุ่มตัวอย่าง รวมทั้งนโยบายด้านกำลังคนและค่าตอบแทน การสร้างเครื่องชี้วัดทางเศรษฐกิจและสังคม เป็นต้น