Author Archives: fpridev

ผู้อำนวยการ สวค. เปิดหลักสูตรประกาศนียบัตรผู้บริหารระดับสูงโครงการร่วมทุนรัฐและเอกชน เพื่อความยั่งยืน (PPP Executive Program)

ภาพบรรยากาศพิธีเปิดหลักสูตรประกาศนียบัตรผู้บริหารระดับสูงโครงการร่วมทุนรัฐและเอกชน เพื่อความยั่งยืน (PPP Executive Program) โดย PPP Leadership Academy สถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง โดยได้รับเกียรติจาก ดร.จุฑาทอง จารุมิลินท ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วม ซึ่งในพิธีเปิดและการอบรมในวันแรกนี้ ได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิมาร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้เข้าร่วมอบรม อาทิ – ดร. คณิศ แสงสุพรรณ อดีตเลขาธิการคณะกรรมการนโยบาย เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) – ดร. เพ็ชร ชินบุตร ที่ปรึกษา มูลนิธิสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง – ดร. พิทย อุทัยสาง ผู้อำนวยการกองส่งเสริมการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ – นางภาวิณา อัศวมณีกุลผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน รักษาการ ที่ปรึกษาด้านนโยบายและแผนงาน สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยการอบรมในหลักสูตรนี้ มีเป้าประสงค์เพื่อช่วยเสริมสร้างความพร้อมให้แก่ผู้บริหารระดับสูงในการพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาที่ซับซ้อนอันเกิดจากการดำเนินโครงการ PPPs รวมถึงจัดเตรียมการสืบทอดตำแหน่งการบริหารงานเพื่อความสำเร็จของโครงการร่วมทุนระหว่างภาครัฐและเอกชนที่มักจะมีระยะเวลาดำเนินโครงการยาวนานอีกด้วย

สสว. ร่วมกับ สวค. เชิญร่วมงานสัมมนา focus group ในหัวข้อ “MSME Talk… อัปเดทสถานการณ์ MSME”

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(สสว.) ร่วมกับ สวค. เรียนเชิญผู้เกี่ยวข้องและสนใจ เข้าร่วมงานสัมมนา focus group ในหัวข้อ “MSME Talk… อัปเดทสถานการณ์ MSME” ภายใต่โครงการพัฒนาเครื่องชี้วัดและสถานการณ์ MSME รายสาขา (MSME Sectoral Indicator) วันที่ 22 พฤศจิกายน 2566 ณ โรงแรมอัศวิน แกรนด์ คอนเวนชั่น

ผู้อำนวยการ สวค. เปิดหลักสูตรเสริมสร้างความพร้อมนักบริหารระดับต้น รุ่นที่ 5

ภาพบรรยากาศพิธีเปิดหลักสูตรเสริมสร้างความพร้อมนักบริหารระดับต้น รุ่นที่ 5 (M-Prep 5) โดย ดร.จุฑาทอง จารุมิลินท ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง ให้เกียรติกล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมอบรม M-Prep เป็นหลักสูตรที่มุ่งเน้นให้ผู้บริหารระดับต้นที่เข้าร่วมหลักสูตรฯ ได้มีโอกาสพัฒนาทักษะ และเพิ่มพูนความรู้ โดยเฉพาะความรู้เข้าใจต่อพฤติกรรมเชิงสังคม เศรษฐกิจ การเมือง พร้อมปรับตัวให้ก้าวทันกับกระแสโลก (Global Trends) และสถานการณ์วิกฤตต่าง ๆ ควบคู่ไปกับความสามารถในการบริหารงาน บริหารคน อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาศักยภาพการทำงานขององค์กร ศักยภาพบุคลากร สู่การเป็นผู้บริหารระดับกลาง และระดับสูงได้ในอนาคต

กลไกทางการคลังและการเงินเพื่อขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

บทความสรุปงานวิจัยเรื่อง “การประเมินการเงินเพื่อการพัฒนาประเทศไทย” (เมษายน พ.ศ. 2566) ที่สถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลังให้กับโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (United Nations Development Programme: UNDP) สามารถดูรายงายฉบับเต็มได้ที่ https://www.undp.org/thailand/publications/development-finance-assessment-thailand ดร. จุฑาทอง จารุมิลินท ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลังดร. อนันตโชค โอแสงธรรมนนท์์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลังดร. อรศรัณย์ มนุอมร ที่ปรึกษาสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลังผศ. ดร. ปิยภัสร ธาระวานิช หัวหน้าสาขาการเงิน วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล 1. ความต้องการด้านการเงินเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย ถึงแม้ว่าประเทศไทยจะก้าวหน้าเป็นอย่างมากในแง่การพัฒนา แต่ก็ยังต้องเผชิญความท้าทายด้านการพัฒนาที่สำคัญหลายประการ ประเทศไทยเป็นประเทศรายได้ปานกลางค่อนข้างสูง ตั้งแต่ปี พ.ศ.2554 และมีการพัฒนาอย่างมากทั้งทางเศรษฐกิจและสังคมเป็นเวลาหลายสิบปีติดต่อกัน อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจที่่เติบโตช้าลงในช่วงสิบปีให้หลัง ประกอบกับผลกระทบอย่างรุนแรงของโควิด-19 ที่มีต่อเศรษฐกิจและประชาชน ยิ่งแสดงให้เห็นช่องว่างทางการพัฒนาของประเทศที่มีอยู่เดิมและความเปราะบางต่อวิกฤตใหม่ๆ แม้ว่าในภาพรวมประเทศไทยจะก้าวหน้าไปมากในเรื่องการบรรลุุเป้าหมายการพัฒนาที่่ยั่งยืนแห่งสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals: SDGs) เมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ แต่หากพิจารณาดัชนีการพัฒนามนุษย์โดยปรับค่าความเหลื่อมล้ำและจากแรงกดดันอื่น ๆ ที่ประเทศกำลังเผชิญ ก็จะเห็นถึงความท้าทายสำคัญที่ต้องแก้ไขเพื่อบรรลุุการพัฒนาอย่างยั่งยืน ทั่วถึง (Inclusive)

ภาษีไป (SDGs) ไหน

โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UDNP) ประเทศไทย ได้สนับสนุนให้มีการนำ SDGs ให้เป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์และนโยบายพัฒนาประเทศไทย และพยายามเพิ่มบทบาทของภาคเอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศในการให้การสนับสนุนทางเงินเพื่อการบรรลุ SDGs ภายใต้กรอบการเงินเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนหรือ Integrated National Financing Framework (INFF) ดร. อนันตโชค โอแสงธรรมนนท์ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สวค.ผู้อำนวยการศูนย์นโยบายการเงินและการพัฒนาเศรษฐกิจยั่งยืน การพัฒนาที่ยั่งยืนและแหล่งเงินทุนที่สำคัญวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030 หรือ The 2030 Agenda for Sustainable Development เป็นวาระที่รัฐสมาชิกในองค์การสหประชาชาติ (United Nation: UN) เห็นชอบร่วมกันตั้งแต่ปี ค.ศ. 2015 และตั้งเป้าจะบรรลุผลเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ในปี ค.ศ. 2030 ซึ่งให้ความสำคัญกับการพัฒนามุ่งเน้นให้ประชาชนทุกกลุ่มในสังคมได้รับประโยชน์และสิ่งแวดล้อมยังอยู่ในสภาพดีสำหรับคนรุ่นหลัง สถานการณ์โควิด-19 ส่งผลให้ฐานะการคลังของไทยที่พิจารณาจากสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อขนาดเศรษฐกิจของประเทศหรือ GDP ยังคงอยู่ในระดับเกือบสูงสุดในรอบ 8 ปีที่ระดับร้อยละ 61.69 ในเดือนสิงหาคม 2566 ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องแม้ว่าสถานการณ์โควิด-19 ได้กลับสู่สภาวะปกติแล้ว

ทำไม ยุคนี้ต้อง “สีเขียว”

ปัญหาที่ทุกประเทศทั่วโลกต้องเผชิญเหมือนกันในปัจจุบันคงหนีไม่พ้นปัญหาที่อุณภูมิโลกเพิ่มสูงขึ้น โดยในช่วงปลายเดือนกรกฎาคม 2566 คุณ António Guterres เลขาธิการสหประชาขาติ ได้กล่าวเตือนว่า ยุคของ Global Warming ได้สิ้นสุดลงแล้ว และเรากำลังจะเข้าสู่ยุคของ Global Boiling… นางสาวสมฤทัย แสงทองนักวิจัยสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง ปัญหาที่ทุกประเทศทั่วโลกต้องเผชิญเหมือนกันในปัจจุบันคงหนีไม่พ้นปัญหาที่อุณภูมิโลกเพิ่มสูงขึ้นในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2566 ที่ผ่านมา องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก หรือ World Meteorological Organization (WMO) ได้มีการคาดการณ์ว่าระหว่างปี พ.ศ. 2566 – 2570 อุณหภูมิใกล้ผิวโลกเฉลี่ยต่อปีจะสูงกว่ายุคก่อนอุตสาหกรรมประมาณ 1.1 – 1.8 องศาเซลเซียส และมีโอกาสสูงถึงร้อยละ 66 ที่อุณหภูมิของโลกจะเพิ่มสูงเกิน 1.5 องศาเซลเซียส ภายในปี พ.ศ. 2570 ในช่วงปลายเดือนกรกฎาคม 2566 คุณ António Guterres เลขาธิการสหประชาขาติ ได้กล่าวเตือนว่า ยุคของ Global Warming

เปิดรับสมัครหลักสูตรพัฒนาทักษะการบริหาร สำหรับผู้นำรุ่นใหม่: Executive Program for Young Professionals (EYP) รุ่นที่ 7

FisPRI Training เปิดรับสมัครผู้เข้าร่วมอบรมหลักสูตรพัฒนาทักษะการบริหาร สำหรับผู้นำรุ่นใหม่: Executive Program for Young Professionals (EYP) รุ่นที่ 7 หลังจากมีการปรับเปลี่ยนกำหนดการอบรม EYP มีเป้าประสงค์ที่จะพัฒนาศักยภาพของผู้นำรุ่นใหม่ ทั้งแนวคิดและการบริหารจัดการองค์กร และพัฒนาผู้นำรุ่นใหม่ สู่ผู้นำการเปลี่ยนแปลงในการพัฒนาองค์กร อีกทั้งสร้างเครือข่ายพันธมิตรองค์กร ระหว่างผู้เข้ารับการฝึกอบรม โดยหลักสูตรนี้ จะเป็นการอบรมแบบ on-ground จำนวน 7 วัน ในโรงแรมระดับ 4 ดาวหรือเทียบเท่าในเขตกรุงเทพมหานครและ การศึกษาดูงานต่างประเทศ 1 ครั้ง ณ สาธารณรัฐเกาหลี (สามารถที่จะเลือกร่วมทริปดูงานหรือไม่ก็ได้) ผู้สนใจสามารถสมัครเข้าร่วมอบรมผ่านช่องทาง Line Official @FisPRITraining จนถึงวันที่ 26 มกราคม 2567

รองผู้อำนวยการ สวค. ร่วมงานครบรอบวันสถาปนาสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ปีที่ 62

ดร. รพีสุภา หวังเจริญรุ่ง รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง และคณะ ร่วมแสดงความยินดีกับสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เนื่องในโอกาสครบรอบวันสถาปนาสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ปีที่ 62 ณ ห้องประชุมป๋วย อึ๊งภากรณ์ ชั้น 7 อาคารสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2566

รองผู้อำนวยการ สวค. ร่วมงานวันคล้ายวันสถาปนาสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ

ดร. รพีสุภา หวังเจริญรุ่ง รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง และคณะ ร่วมแสดงความยินดีกับสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันสถาปนาสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ครบรอบ 21 ปี ณ ห้องประชุมวายุภักษ์ 4 อาคารสำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2566