Author Archives: fpridev

พิธีเปิดการอบรมหลักสูตร EYP7

พิธีเปิดหลักสูตรพัฒนาทักษะการบริหารสำหรับผู้นำรุ่นใหม่:EYP รุ่นที่ 7 โดย FisPRI Training สถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง โดยได้รับเกียรติจาก ดร.จุฑาทอง จารุมิลินท ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมอบรม ซึ่งช่วงเช้าการอบรมในวันแรกนี้ ได้รับเกียรติจาก รศ. ดร.ชัยยุทธ ถาวรานุรักษ์ รองคณบดีฝ่ายบริการวิชาการและสื่อสารองค์กร วิทยาลัยสหวิทยาการ มาช่วยดำเนินกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ เพื่อเสริมสร้างเครือข่ายความสัมพันธ์ สร้างความสนิทสนมแก่ผู้เข้าร่วมอบรม โดยหลักสูตร EYP มุ่งเน้นการพัฒนาผู้นำรุ่นใหม่ทั้งแนวคิด และการบริหารจัดการเพื่อให้สามารถรองรับผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม วิทยาการ การสื่อสารและเทคโนโลยี และการเมือง รวมทั้งความเสี่ยงต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น นอกจากการพัฒนาทักษะทางการบริหารธุรกิจในเชิงทฤษฎีแล้ว หลักสูตรนี้ยังเสริมสร้างความเข้าใจของผู้เข้าอบรมผ่านการนำกรณีศึกษามาสู่การสรุป และต่อยอดทางความคิด รวมถึงมุ่งเน้นความรู้เกี่ยวกับ Mega Trends หรือกระแสความนิยมใหม่ที่ผู้บริหารรุ่นใหม่ควรตระหนัก เพื่อนำไปสร้างประโยชน์ เช่น กำหนดทิศทางการดำเนินชีวิต กำหนดแผนกลยุทธ์ทางธุรกิจ การมองหาโอกาสใหม่ ๆ ในการลงทุน หรือการสร้างธุรกิจของตนเอง หรือคาดการณ์ความมั่นคงของบริษัทหรือองค์กรที่ตนกำลังบริหารงานอยู่

เชิญผู้สนใจเข้าร่วม Focus Group “ศักยภาพของน่าน MSME … ความหวัง และการเติบโต”

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ร่วมกับ สถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง 📣เรียนเชิญผู้สนใจเข้าร่วมประชุมระดมความคิดเห็น (Focus Group) 🎯”ศักยภาพของน่าน MSME … ความหวัง และการเติบโต” Topics:🔹ศักยภาพ จุดเด่น และจุดด้อยของจังหวัด🔹สถานการณ์ของผู้ประกอบการ MSME ในพื้นที่และบทบาทความช่วยเหลือ ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง🔹Soft Power และภาพอนาคตของพื้นที่🔹ข้อเสนอแนะต่อการส่งเสริมผู้ประกอบการ MSME ในพื้นที่ 🗓 25 มกราคม 2567⏰08:30 น. – 12:30 น. 🏢 ณ ห้องจัสมิน ชั้น 2 โรงแรมดิอิมเพรส น่าน ลงทะเบียนร่วมงานได้ที่https://forms.office.com/r/rMyUwGZT4M หรือติดต่อ02-587-9788 ต่อ 301-314

ผู้อำนวยการ สวค. ร่วมตักบาตรปีใหม่ 2567 กระทรวงการคลัง

ดร.จุฑาทอง จารุมิลินท ผู้อำนวยการ สวค. ร่วมพิธีทำบุญตักบาตรเนื่องในวันขึ้นปีใหม่ 2567 ร่วมกับผู้บริหารกระทรวงการคลัง ณ ห้องโถงวายุภักษ์ ชั้น 1 กระทรวงการคลัง วันพุธที่ 3 มกราคม 2567

ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 และการบริหารจัดการปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) เป็นปัญหาที่ประชาคมโลกรับผลกระทบทางลบร่วมกัน การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้จะนำมาสู่ผลกระทบต่อภาคเกษตรทั้งการเพาะปลูกและปศุสัตว์ของไทยและของโลก รวมถึงการบันทอนคุณภาพการดำรงชีวิตของมนุษย์ที่จะประสบระดับความรุนแรงจะมีมากขึ้นและระดับความถี่จะสูงขึ้น วรรณสินท์ สัตยานุวัตร์สถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) เป็นปัญหาที่ประชาคมโลกรับผลกระทบทางลบร่วมกัน ตั้งแต่ที่ผลทางตรงกับประเทศไทย ได้แก่ปัญหาแล้ง พายุฝน คลื่นความร้อน การเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล และที่ส่งผลทางอ้อมกับไทยอันได้แก่ การละลายของน้ำแข็งในขั้วโลก และน้ำในมหาสมุทรที่อุ่นเพิ่มขึ้น การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้จะนำมาสู่ผลกระทบต่อภาคเกษตรทั้งการเพาะปลูกและปศุสัตว์ของไทยและของโลก รวมถึงการบันทอนคุณภาพการดำรงชีวิตของมนุษย์ที่จะประสบระดับความรุนแรงจะมีมากขึ้นและระดับความถี่จะสูงขึ้น การปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Green House Gas, GHG) เป็นเหตุของปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ความตกลงปารีส (Paris Agreement) แสดงความมุ่งมั่นของประชาคมโลกที่แสดงเป้าหมายในการลดการปล่อย GHG ประเทศพัฒนาแล้วหลายประเทศกำหนดเป้าหมาย Net Zero ในปีค.ศ.2050 ไทยกำหนดเป้าหมาย Carbon Neutral ในปีค.ศ. 2050 และกำหนดเป้าหมาย Net Zero ในปี ค.ศ. 2065 การบริหารราชการแผ่นดินไปสู่เป้าหมายการจัดการต่อ GHG ดังกล่าวดำเนินการได้สี่หมวด ได้แก่ เครื่องมือเชิงนโยบายที่สำคัญของการดำเนินการให้ทั้งสี่หมวดข้างต้นปรากฎผลเชิงประจักษ์จะต้องทำให้กลไกตลาดทำงานจนเกิดการกำหนดราคาคาร์บอนทางตรง (Direct Carbon

กลไกการปรับ (ราคา) คาร์บอนข้ามพรมแดน (The Carbon Border Adjustment Mechanism: CBAM)กลไกการปรับ (ราคา) คาร์บอนข้ามพรมแดน

บทความนี้นำเสนอรายละเอียดของ CBAM ของสหภาพยุโรป (The European Union: EU) ซึ่งเป็นเครื่องมือเพื่อปรับราคาคาร์บอนของสินค้านำเข้าได้แก่ อะลูมิเนียม เหล็กและเหล็กกล้า ปูนซีเมนต์ ไฟฟ้า ปุ๋ย และไฮโดรเจน วรรณสินท์ สัตยานุวัตร์สถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลังนันทรัตน์ ตั้งวิฑูรธรรมมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ บทความนี้นำเสนอรายละเอียดของ CBAM ของสหภาพยุโรป (The European Union: EU) ซึ่งเป็นเครื่องมือเพื่อปรับราคาคาร์บอนของสินค้านำเข้าได้แก่ อะลูมิเนียม เหล็กและเหล็กกล้า ปูนซีเมนต์ ไฟฟ้า ปุ๋ย และไฮโดรเจน วรรณกรรมปริทัศน์ที่ศึกษาการคาดการณ์ผลกระทบพบว่ามีทั้งประเทศที่ความสามารถในการแข่งขันลดลงและประเทศที่มีความสามารถในการแข่งขันเพิ่มขึ้น ภาพรวมของความอยู่ดีกินดีของเศรษฐกิจโลกโดยรวมของประเทศพัฒนาแล้วดีขึ้นและของประเทศกำลังพัฒนาแย่ลง ข้อมูลปี 2019 พบว่าไทยมีเพียงอะลูมิเนียม และเหล็กและเหล็กกล้าที่ส่งออกไปยังตลาด EU ในสัดส่วนร้อยละ 4.4 และ 5.2 ของการส่งออกไปตลาดโลกตามลำดับ การบังคับใช้ CBAM กำหนดช่วงเปลี่ยนผ่านเป็นช่วงแรกระหว่าง 1 ตุลาคม 2023 – 31 ธันวาคม 2025 กำหนดให้ทำรายงานแสดงขนาดการปล่อย GHG

เชิญร่วมประชุมระดมความคิดเห็น (Focus Group) เชียงใหม่ “ MSME Talk … อัปเดตสถานการณ์ MSME ”

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(สสว.) ร่วมกับ สถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลังขอเรียนเชิญผู้สนใจเข้าร่วมประชุมระดมความคิดเห็น (Focus Group) เชียงใหม่ “ MSME Talk … อัปเดตสถานการณ์ MSME ”🗓 วันที่ 14 ธันวาคม 2566🕑 เวลา 08.30 น. – 12.00 น.📌ณ ห้องประชุม Convention 3 โรงแรมวินทรี ซิตี้ รีสอร์ต เชียงใหม่ สามารถลงทะเบียนเข้าร่วมงานผ่าน QR Code ด้านล่างหรือ https://forms.office.com/r/rhd2asCjwA

ผู้อำนวยการ สวค. มอบประกาศนียบัตรการฝึกอบรมหลักสูตร M-Prep 5

ดร. จุฑาทอง จารุมิลินท ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง ร่วมแสดงความยินดีและมอบประกาศนียบัตรแก่ผู้สำเร็จการฝึกอบรมหลักสูตรเสริมสร้างความพร้อมนักบริหารระดับต้น รุ่นที่ 5 (M-Prep 5) ในพิธีปิดการอบรม เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2566 ณ โรงแรมไอบิส สไตล์ กรุงเทพ รัชดา หลักสูตรฯนี้ มุ่งเน้นให้ผู้บริหารระดับต้นที่เข้าร่วมหลักสูตรฯ ได้มีโอกาสพัฒนาทักษะ และเพิ่มพูนความรู้ โดยเฉพาะความรู้เข้าใจต่อพฤติกรรมเชิงสังคม เศรษฐกิจ การเมือง พร้อมปรับตัวให้ก้าวทันกับกระแสโลก (Global Trends) และสถานการณ์วิกฤตต่าง ๆ ควบคู่ไปกับความสามารถในการบริหารงาน บริหารคน อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาศักยภาพการทำงานขององค์กร ศักยภาพบุคลากร สู่การเป็นผู้บริหารระดับกลาง และระดับสูงได้ในอนาคต รวมถึงการสร้างเครือข่ายระหว่างผู้บริหารระดับต้นจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาครัฐวิสาหกิจ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการปฏิบัติงานบริหารในอนาคต

สวค. ผนึก กอช. และกรุงไทย เปิดตัวบริการ “ออมเพลิน” บนแอปฯ เป๋าตัง หนุนสะสมเงินออมระยะยาว สร้างหลักประกันมั่นคงให้แรงงานนอกระบบ

สถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง ผนึก กอช. และกรุงไทย เปิดตัวบริการ “ออมเพลิน” บนแอปฯ เป๋าตัง หนุนสะสมเงินออมระยะยาว สร้างหลักประกันมั่นคงให้แรงงานนอกระบบ มูลนิธิสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง (มูลนิธิ สวค.) โดยการสนับสนุนจากกองทุนส่งเสริม การพัฒนาตลาดทุน (CMDF) นำร่องนวัตกรรมบริการการออมเพื่อการเกษียณอายุให้กับแรงงานนอกระบบ ร่วมกับ กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) และธนาคารกรุงไทย เปิดการใช้บริการ “ออมเพลิน” บนแอปพลิเคชันเป๋าตัง หนุนกลุ่มเป้าหมายแรงงานนอกระบบให้สะสมเงินออมตามที่ได้ตั้งเป้าหมายของตนเองไว้ได้อย่างอัตโนมัติ (automatic saving) ในทุกครั้งที่มีการใช้จ่ายชำระเงินซื้อสินค้าแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-payment) ก่อให้เกิดการออมระยะยาวผ่าน กอช. ซึ่งจะเป็นการช่วยเสริมสร้างหลักประกันที่มั่นคงหลังเกษียณอายุ สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล และช่วยลดปัญหาหนี้ภาคครัวเรือนในอีกทางหนึ่ง นายลวรณ แสงสนิท ปลัดกระทรวงการคลัง เป็นประธานเปิดตัว บริการ “ออมเพลิน” บน แอปพลิเคชันเป๋าตัง บริการออมเงินรูปแบบใหม่สำหรับแรงงานนอกระบบ ที่ถูกพัฒนาจากแนวคิด “การออมเงินอัตโนมัติเพื่อการเกษียณ” กระตุ้นให้ออมเงินด้วยตัวเองทุกครั้งที่ใช้จ่าย โดยเชื่อมกับกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ (G Wallet) เพื่อสะสมเงินเข้ากองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) สร้างหลักประกันที่มั่นคงในชีวิตให้กับแรงงานนอกระบบ โดยมี นายพรชัย ฐีระเวช

รองผู้อำนวยการ สวค. ร่วมเวทีในงาน Making Our Future: New Directions for Human Development in Asia and the Pacific and Its Implication on Thailand

ดร. รพีสุภา หวังเจริญรุ่ง รองผู้อำนวยการ สวค. ร่วมเวทีเสวนาในหัวข้อ “Making Our Future: New Directions for Achieving Balanced Human Development in Thailand” ซึ่งเป็นส่วนนึงของงานสัมมนา Making Our Future: New Directions for Human Development in Asia and the Pacific and Its Implication on Thailand จัดโดย United Nation Development Programme (UNDP) ในวันที่ 16 พฤศจิกายน 2566 ณ โรงแรมอมารีกรุงเทพ