จากการที่ประเทศส่วนใหญ่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ใช้การส่งเสริมการลงทุนจากต่างชาติมาเป็นกลยุทธ์สำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจ การใช้สิทธิพิเศษทางด้านภาษีและการขยายโครงสร้างพื้นฐานได้เป็นเครื่องมือหลักในการส่งเสริมนโยบายดังกล่าว แต่อย่างไรก็ดี ปัจจัยที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือแรงงานซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสร้างความเข้าใจถึงคุณลักษณะของแรงงานในแต่ละประเทศ ดังนั้นรายงานฉบับนี้จึงจัดทำขึ้นเพื่อนำเสนอคุณลักษณะสำคัญของแรงงานในประเทศไทย ประเทศอินโดนีเซีย และประเทศเวียดนาม โดยมีประเด็นที่สำคัญดังนี้
- ภาพรวมและคุณลักษณะตลาดแรงงานของไทย
- ภาพรวมและคุณลักษณะของตลาดแรงงานของอินโดนีเซีย
- ภาพรวมและคุณลักษณะของตลาดแรงงานของเวียดนาม
- แนวโน้มในอนาคตและปัจจัยท้าทาย
1.ภาพรวมและคุณลักษณะตลาดแรงงานของไทย
จากภาพรวมของการคำนวณประสิทธิภาพแรงงาน รูปที่ 1 ได้แสดงให้เห็นถึงผลการเปรียบเทียบมูลค่าเพิ่มต่อแรงงานของไทยยังมีค่าต่ำกว่าประเทศญี่ปุ่น เกาหลีใต้ มาเลเซีย รวมถึงประเทศจีน ยกเว้นในสาขาอุตสาหกรรมที่สูงกว่าประเทศจีน
รูปที่ 1: เปรียบเทียบมูลค่าเพิ่มต่อแรงงานของประเทศในเอเชีย
โดยเมื่อพิจารณารายละเอียดในรายสาขาการผลิต รูปที่ 2 ได้แสดงให้เห็นถึงผลเมื่อเปรียบเทียบระหว่างสาขาการผลิตภายในประเทศ (ค่าเฉลี่ยรวมทุกสาขาเท่ากับ 100) สาขาอุตสาหกรรมของไทยมีค่าสูงประมาณ 2 เท่าของค่าเฉลี่ยในขณะที่สาขาบริการมีค่าเท่ากับค่าเฉลี่ยและสาขาเกษตรมีค่าประมาณ 40% ของค่าเฉลี่ย
รูปที่ 2: เปรียบเทียบมูลค่าเพิ่มต่อแรงงานของประเทศในเอเชีย
ทั้งนี้ เป็นที่น่าสนใจว่าสัดส่วนของแรงงานในภาคเกษตรลดลงอย่างต่อเนื่องตลอด 50 ปีที่ผ่านมา แต่ประสิทธิภาพของแรงงานในภาคเกษตรยังอยู่ในระดับต่ำดังแสดงในรูปที่ 3 นอกจากนี้การลดลงของแรงงานในภาคเกษตรของไทยยังช้ากว่าประเทศอื่นๆ ทั้งหมดในภูมิภาค หากเปรียบเทียบสัดส่วนของแรงงานในภาคเกษตร ณ ระดับการพัฒนาที่แสดงโดย GDP per capital ดังแสดงในรูปที่ 4
รูปที่ 3:สัดส่วนของแรงงานในภาคเกษตรของไทย
รูปที่ 4:สัดส่วนของแรงงานในภาคเกษตรของประเทศในเอเชีย เมื่อเปรียบเทียบกับระดับการพัฒนา(โดยการใช้มูลค่ารายได้เฉลี่ยต่อประชากร)
เมื่อพิจารณาถึงสัดส่วนการจ้างงานในช่วง 15 ปีที่ผ่านมา พบว่าการจ้างงานของแรงงานที่มีระดับการศึกษาระดับอุดมศึกษามีสัดส่วนสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยเมื่อคำนวณสัดส่วนการจ้างงานตามระดับการศึกษาคิดเป็นร้อยละต่อการจ้างงานรวม พบว่าสัดส่วนของแรงงานระดับอุดมศึกษาเพิ่มขึ้นประมาณ 2 เท่าในช่วง 15 ปีที่ผ่านมา และแรงงานระดับการศึกษาชั้นประถมหรือต่ำกว่ามีสัดส่วนลดลงอย่างต่อเนื่อง ดังแสดงในรูปที่ 5 และ 6
รูปที่ 5: จำนวนแรงงานของไทยแบ่งตามระดับการศึกษา
รูปที่ 6: สัดส่วนของแรงงานของไทยแบ่งตามระดับการศึกษา
การจ้างงานมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องในช่วงปี 2545 – 2553 โดยภายหลังจากนั้นมีความผันผวน และในปี 2557 มีการลดลงเป็นจำนวนมากเมื่อคำนวณความสัมพันธ์ระหว่างการขยายตัวของ GDP กับการจ้างงานโดยรวม พบความสัมพันธ์ในลักษณะเชิงเส้นดังแสดงในภาพด้านล่างซึ่งแสดงให้เห็นว่าการขยายตัว 1% ของ GDP ส่งผลทำให้การจ้างงานเพิ่ม 0.295%
รูปที่7:ความสัมพันธ์ระหว่าง การขยายตัวของการจ้างงานและการขยายตัวของ GDP (ปี พ.ศ. 2546 – 2557)
2. กรณีศึกษา: โครงการสร้างการจ้างงานของอินโดนีเซีย
ปัจจุบันอินโดนีเซียมีแรงงานกว่า 120 ล้านคน แต่มีอัตราว่างงานอยู่ที่ประมาณร้อยละ 6 และมีลักษณะการทำงานไม่เต็มเวลา(under employment) อยู่มากกว่า 35 ล้านคน
ตารางที่ 1:การกระจายตัวของแรงงานในอินโดนีเซีย
เมื่อพิจารณาในลักษณะของสัดส่วนของการจ้างงานรายสาขา พบว่าแรงงานในภาคสาขาอุตสาหกรรมยังมีสัดส่วนต่ำ โดยสาขาบริการมีการขยายตัวที่สูงกว่า ซึ่งสัดส่วนดังกล่าวสะท้อนถึงการขยายตัวที่ช้าในสาขาอุตสาหกรรมโดยการจ้างงานโดยส่วนส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มสาขาอาหารและเครื่องดื่ม และสิ่งทอเป็นหลักซึ่งแสดงในรูปที่ 8 และ 9
รูปที่ 8:สัดส่วนการจ้างงานรายสาขาของประเทศอินโดนีเซีย
รูปที่ 9:สัดส่วนการจ้างงานรายสาขาอุตสาหกรรมของประเทศอินโดนีเซีย
นอกจากนี้ ในเชิงพื้นที่ ยังพบว่าค่าจ้างงานในบริเวณเกาะชวา สูงกว่าในบริเวณอื่นๆซึ่งสะท้อนถึงความไม่เท่าเทียมของค่าแรง และความแตกต่างนี้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตลอดช่วงเวลา ดังแสดงในรูปที่ 10
รูปที่ 10:ค่าแรงของแรงงานในบริเวณเกาะชวาและบริเวณอื่นในประเทศอินโดนีเซีย
นอกจากนี้ ยังพบปัญหาเชิงโครงสร้าง ซึ่งแสดงให้เห็นถึงค่า employment elasticity ที่ลดลงอย่างมากของอินโดนีเซียภายหลังวิกฤตเศรษฐกิจปี พ.ศ.2540
รูปที่ 11:การเปลี่ยนแปลงของ employment elasticityในกรณีของประเทศอินโดนีเซีย
โดยปัญหาโครงสร้างหลักของตลาดแรงงานในอินโดนีเซียคือการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ซึ่งปรับตามร้อยละการเพิ่มขึ้นของ GDP และเงินเฟ้อ ซึ่งไม่สอคคล้องกับค่าจ้างที่เหมาะสม นั่นคือการปรับค่าจ้างตามประสิทธิภาพของแรงงาน
รูปที่ 12:การกำหนดค่าแรงขั้นต่ำในประเทศอินโดนีเซีย
3.กรณีศึกษา: โครงการสร้างการจ้างงานของเวียดนาม
การจ้างงานของเวียดนามโดยส่วนใหญ่อยู่ในภาคอุตสาหกรรม ซึ่งผลทำให้ GDP เติบโตต่อเนื่องในอัตราสูงทั้งนี้โครงสร้างของค่าแรงก็แตกต่างตามสาขา โดยภาคเกษตรมีรายได้ต่ำสุด ในขณะที่สาขาภาคบริการมีรายได้สูงสุดโดยรายละเอียดดังแสดงในรูปที่ 13 และ 14
รูปที่ 13:โครงสร้างของผลผลิตรายสาขาของประเทศเวียดนาม
รูปที่ 14:ความแตกต่างของค่าแรงเฉลี่ยในแต่ละสาขาการผลิตในประเทศเวียดนาม
นอกจากนี้โครงสร้างของค่าแรงก็แตกต่างตามประเภทของกิจการ โดยกิจการที่เป็นการร่วมทุนกับต่างประเทศจะได้รับค่าจ้างสูงกว่าค่าจ้างของกิจการที่เป็นเจ้าของโดยคนเวียดนามดังแสดงในรูปที่ 15 นอกจากนี้ ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ก็มีปัจจัยต่อค่าจ้างเช่นกัน โดยที่ตั้งบริเวณปากแม่น้ำแดง และบริเวณตะวันออกเฉียงใต้มีค่าสูงสุด ทั้งนี้ค่าจ้างโดยรวมมีการปรับเพิ่มตลอดช่วงเวลา ดังแสดงในรูปที่ 16
รูปที่ 15:ความแตกต่างของค่าแรงเฉลี่ยในแต่ละสาขาการผลิตในประเทศเวียดนาม
รูปที่ 16:ความแตกต่างของค่าแรงเฉลี่ยในแต่ละพื้นที่
นอกจากปัจจัยด้านของสัดส่วนของเจ้าของกิจการและที่ตั้งแล้ว การส่งออกก็มีผลต่อค่าจ้างเช่นกัน โดยบริษัทที่เน้นการส่งออกจะจ่ายค่าจ้างสูงกว่า
รูปที่ 17:ความแตกต่างของค่าแรงเฉลี่ยของกิจการ ระหว่างกิจการที่เน้นการส่งออกและกิจการที่ขายในประเทศ
4.แนวโน้มโครงสร้างแรงงานในอนาคต
ประเทศส่วนใหญ่ในภูมิภาคอาเซียนมีแนวโน้มของอัตราการเกิดจะลดลงในอนาคต แต่ฟิลิปปินส์และอินโดนีเซียยังคงอัตราการเกิดที่สูง และการตายของทารกหลังคลอดที่สูงเช่นกันดังแสดงในรูปที่ 18
รูปที่ 18: อัตราการเกิดและอัตราการเสียชีวิตหลังคลอดของทารก
ประเทศส่วนใหญ่ในภูมิภาคอาเซียนมีแนวโน้มชองการขยายตัวของประชากรและจำนวนแรงงานในอนาคต แต่ประเทศไทยเป็นประเทศเดียวที่มีแนวโน้มการลดลงของประชากรวัยแรงงาน ดังแสดงในรูปที่ 19 ซึ่งแนวโน้มนี้เป็นประเด็นท้าทายสำหรับประเทศไทยในอนาคต
รูปที่ 19: อัตราการเกิดและอัตราการเสียชีวิตหลังคลอดของทารก